วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ค่ามาตรฐาน

ค่ามาตรฐานเป็นค่าที่บอกให้ทราบความแตกต่างระหว่างค่าของข้อมูลนั้นกับค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนั้นเป็นกี่เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สูตร ZI =   
เมื่อ Zi คือ คะแนนมาตรฐาน
XI คือ คะแนนดิบของข้อมูลที่มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตที่จะแปลเป็นคะแนนมาตรฐาน
 
 คือ มัชฌิมเลขคณิต
S.D. คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ในการเปรียบเทียบค่าคะแนนของข้อมูลที่มาจากข้อมูลต่างชุดกัน ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งบางครั้งไม่สามารถเปรียบเทียบได้โดยตรง เพราะมัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลมักจะไม่เท่ากัน ในการเปรียบเมียบให้มีความถูกต้องจึงมีความจำเป็นของการเปลี่ยนคะแนนของข้อมูลทั้งสองชุดนั้นให้เป็นคะแนนมาตรฐาน ( ซึ่งมีมัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากันเสียก่อน ) จึงจะเปรียบเทียบข้อมูล 2 ชุดนี้ได้ ในการเปลี่ยนค่าของข้อมูลของตัวแแปรหรือข้อมูลแต่ละตัวให้เป็นค่ามาตรฐานที่นิยมใช้คือเปลี่ยนให้มีค่ามัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    เท่ากับ 1
ข้อสังเกต 
1.คะแนนมาตรฐานเป็นตัวเลขไม่มีหน่วย
2.ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนมาตรฐานทั้งหมดของชุดข้อมูล จะมีค่าเท่ากับ 1
3.คะแนนมาตรฐานของข้อมูลใดๆ จะเป็นบวก หรือลบก็ได้ขึ้นอยู่กับค่าของข้อมูลนั้นๆ กับมัชฌิมเลข     ของข้อมูลชุดนั้นว่าค่าใดมีค่ามากกว่ากัน
4.คะแนนมาตรฐานโดยทั่วไปจะมีค่า –3 ถึง +3 แต่อาจจะมีบางข้อมูลที่มีคะแนนมาตรฐานสูงหรือต่ำกว่านี้เล็กน้อย
5.เมื่อแปลงข้อมูลทุกๆ ค่าในข้อมูลชุดใดชุดหนึ่งให้เป็นคะแนนมาตรฐานแล้วทำค่ามาตรฐานเหล่านั้นมาคำนวณหาค่ามัชฌิมเลขคณิตจะได้เท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะได้เท่ากับ 1 ( คะแนนมาตรฐานจะมีมัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1 )
6.ถ้า จะได้ Z > 0 และถ้า จะได้ Z< 0

ตัวอย่างที่ 1 
สายใจสอบวิชาสถิติและภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคะแนนเต็ม 100 คะแนนเท่ากัน ในการสอบสายใจได้คะแนน 75 และ 85 คะแนนตามลำดับ ถ้าค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเเบี่ยงเบนมาาตรฐานของคะแนนสถิติของนักศึกษากลุ่มนี้คือ 60 และ 10 ค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของวิชาภาษาอังกฤษคือ 70 และ 12 ตามลำดับ แล้วจงเปรียบเทียบว่าสายใจเรียนวิชาไหนได้ดีกว่ากัน
สูตร Z =  
วิธีทำ
ค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาสถิติ คือ --------------= 1.5
ค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ คือ = 1.25
ค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาสถิติของสายใจสูงกว่าค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ แสดงว่าสายใจเรียนวิชาสถิติได้ดีกว่าวิชาภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างที่ 2 
ในการสอบวิชาบัญชีของนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มหนึ่ง มีค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 64 และ 10 ตามลำดับ ถ้าค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาบัญชีของ เพชรมณีคือ 1.3 อยากทราบว่าเพชรมณีสอบได้คะแนนเท่าไร
วิธีทำ ค่ามาตรฐาน ZI = 
 
แทนค่า 1.3 =  
X =  = 77
 เพชรมณีสอบวิชาบัญชีได้คะแนน 77 คะแนน

ตัวอย่างที่ 3 
ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปริญญาตรีแผนกการตลาดและแผนกบัญยชี ซึ่งวสา นักศึกษาแผนกบัญชีสอบได้ 85 คะแนน ในแผนกบัญชีมีค่ามัชฌิมเลขคณิต 70 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10 และสุธี นักศึกษาแผนกการตลาดสอบได้ 75 คะแนนในแผนกการตลาดมีค่ามัชฌิมเลขคณิต 60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 12 จงหาว่า วสาและสุธี ใครเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีกว่ากัน
      วิธีทำ
แปลงคะแนนดิบของวสาและสุธี ให้เป็นคะแนนมาตรฐาน โดยใช้ค่า ----และ S.D. ของแต่ละแผนกที่ทั้งสองเรียนอยู่
ZI =  
คะแนนมาตรฐานของวสา =------------- = 1.5
คะแนนมาตรฐานของสุธี = 1.
ดังนั้น จากการเปรียบเทียบคะแนนมาตรฐานของวสาจะสูงกว่าของสุธี แสดงว่า วสาจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีกว่าสุธี

วงกลม

 บทนิยามของวงกลม
      วงกลม  คือ  เซตของจุดทุกจุดบนระนาบซึ่งอยู่ห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งบนระนาบเดียวกันเป็นระยะทางเท่าๆกัน


ส่วนต่างๆของวงกลม














1.  จุดคงที่ O                                                      เรียกว่า             จุดศูนย์กลาง
2.  ส่วนของเส้นตรง  OC                                     เรียกว่า             รัศมี
3.  ส่วนของเส้นตรง  DE                                     เรียกว่า             คอร์ด
4.  ส่วนของเส้นตรง  AB                                      เรียกว่า             เส้นผ่านศูนย์กลาง
5.  ส่วนของเส้นตรง  OX                                      เรียกว่า             ระยะที่คอร์ดห่างจากจุดศูนย์กลาง

ทฤษฎีเกี่ยวกับคอร์ดของวงกลม

                1.  ส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางของวงกลมวงหนึ่ง  ไปยังจุดกึ่งกลางของคอร์ดใดๆ  ( ที่ไม่ใช่เส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมนั้น )  จะตั้งฉากกับคอร์ด
                2.  ส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางของวงกลมหนึ่งไปตั้งฉากกับคอร์ดใดๆของวงกลม  จะแบ่งครึ่งคอร์ดนั้น
                3.  เส้นตรงซึ่งแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับคอร์ดของวงกลมใดๆ  จะผ่านจุดศูนย์กลางของวงกลมนั้น
                4.  มีวงกลมวงเดียวเท่านั้นที่ผ่านจุดสามจุดซึ่งไม่อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
                5.  ในวงกลมเดียวกัน  หรือวงกลมที่เท่ากัน  คอร์ดที่ยาวเท่ากัน  ย่อมอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางเท่ากัน
                6.  ในวงกลมเดียวกัน  หรือวงกลมที่เท่ากัน  คอร์ดที่ยาวย่อมอยู่ใกล้  จุดศูนย์กลางของวงกลมมากกว่าคอร์ดที่สั้น
                7.  ส่วนของเส้นตรงที่ลากต่อจุดศูนย์กลางของวงกลมสองวงที่ตัดกันย่อมแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับคอร์ดร่วม

ส่วนโค้งและมุมในวงกลม

บทนิยาม

   1.  ครึ่งวงกลม  คือ  ระนาบที่ประกอบด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางและครึ่งของเส้นรอบวงของวงกลม
                2.  ส่วนโค้ง  คือ  ส่วนใดส่วนหนึ่งของเส้นรอบวงของวงกลม  ถ้าเส้นรอบวงถูกแบ่งออกเป็น  2  ส่วนไม่เท่ากันส่วนโค้งที่ยาว  เรียกว่า  ส่วนโค้งใหญ่  และ  ส่วนโค้งที่สั้น  เรียกว่า  ส่วนโค้งน้อย
                3.  ส่วนของวงกลม  คือ  ระนาบที่ประกอบด้วยคอร์ดกับส่วนโค้งของวงกลม
                4.  มุมที่จุดศูนย์กลาง  คือ  มุมที่มีจุดยอดมุมอยู่ที่จุดศูนย์กลางและมีรัศมี  2  เส้น เป็นแขนของมุม
                5.  มุมในส่วนโค้งของวงกลม  คือ  มุมที่มีจุดยอดมุมอยู่บนวงกลมและมีแขนทั้งสองของมุมตัดวงกลม
 







  






1.  ส่วนโค้ง  ACB                                               เรียกว่า             ส่วนโค้งใหญ่
2.  ส่วนโค้ง  ADB                                               เรียกว่า             ส่วนโค้งน้อย
3.  พื้นที่  F                                                          เรียกว่า             ครึ่งวงกลม


 

1.  มุม  C                                                             เรียกว่า             มุมในส่วนโค้งของวงกลม
2.  มุม  O                                                             เรียกว่า             มุมที่จุดศูนย์กลาง

ทฤษฎีเกี่ยวกับส่วนโค้งและมุมในวงกลม

                1.  มุมที่จุดศูนย์กลางย่อมทีขนาดเป็นสองเท่าของมุมในส่วนโค้งของวงกลมซึ่งรองรับด้วยส่วนโค้งเดียวกัน
                2.  มุมในส่วนโค้งของวงกลมที่รองรับด้วยส่วนโค้งที่ยาวเท่ากัน  ย่อมมีขนาดเท่ากัน
                3.  สี่เหลี่ยมที่แนบอยู่ในวงกลม  มุมตรงข้ามรวมกันย่อมเท่ากับสองมุมฉาก
                4.  สี่เหลี่ยมที่มีมุมตรงข้ามรวมกันเป็นสองมุมฉาก  วงกลมย่อมผ่านได้
                5.  ถ้าต่อด้านใดด้านหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมที่บรรจุในวงกลมออกไป  มุมภายนอกที่เกิดขึ้นย่อมเท่ากับมุมภายในที่อยู่ตรงกันข้าม
                6.  มุมภายในครึ่งวงกลมย่อมเป็นมุมฉาก
                7.  ในวงกลมเดียวกันหรือวงกลมที่เท่ากัน  มุมที่อยู่บนส่วนโค้งที่ยาวเท่ากันย่อมมีขนาดเท่ากัน
                8.  ในวงกลมเดียวกันหรือวงกลมที่เท่ากัน  ส่วนโค้งซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับมุมที่เท่ากันย่อมยาวเท่ากัน

เส้นสัมผัส

บทนิยาม

                1.  เส้นผ่านวง  คือ  เส้นตรงที่ลากตัดเส้นรอบวงของวงกลม  2  จุด
                2.  เส้นสัมผัส  คือ  เส้นตรงที่ลากตัดเส้นรอบวงของวงกลมเพียงจุดเดียว  จุดนี้เรียกว่า  จุดสัมผัส
                3.  เส้นสัมผัสร่วม  คือ  เส้นตรงที่สัมผัสวงกลมตั้งแต่สองวงขึ้นไป


 

1.  ส่วนของเส้นตรง  AB                                      เรียกว่า             เส้นผ่านวง
2.  ส่วนของเส้นตรง  CD                                      เรียกว่า             เส้นสัมผัส
3.  จุด  E                                                            เรียกว่า             จุดสัมผัส

ทฤษฎีเกี่ยวกับเส้นสัมผัส

     1.  เส้นสัมผัสวงกลมย่อมตั้งฉากกับรัศมีที่จุดสัมผัส
     2.  จากจุดๆหนึ่งภายนอกวงกลม  ลากเส้นสัมผัสวงกลมได้สองเส้นยาวเท่ากัน  และต่างรองรับมุมที่                                  จุดศูนย์กลางเท่ากันด้วย
    3.  วงกลมสองวงสัมผัสกัน  จุดสัมผัสกับจุดศูนย์กลางของวงกลมทั้งสองย่อมอยู่บนแนวเส้นตรงเดียวกัน
    4.   มุมที่เกิดจากเส้นสัมผัส  ทำกับปลายคอร์ดที่จุดสัมผัส  ย่อมเท่ากับมุมในส่วนของวงกลม ที่อยู่ตรงกันข้าม


 

ระบทพิกัดฉากสามมิติ

ระบทพิกัดฉากสามมิติ  
         กำหนดเส้นตรง XX' , YY' และ ZZ' เป็นเส้นตรงที่ผ่านจุด O และตั้งฉากซึ่งกันและกันโดยกำหนด ทิศทางของเส้นตรงทั้งสามเป็นระบบมือขวา  ดังรูป 1

                                                                               
รูป 1

       ถ้าเส้นตรงทั้งสามเป็นเส้นจำนวน (real line) จะเรียกเส้นตรง XX' , YY' และ ZZ' ว่า แกนพิกัด X แกนพิกัด Y และ แกนพิกัด Z หรือเรียนสั้นๆ ว่า แกน X (x-axis)            แกน Y (y-axis) และ แกน Z (z-axis) และเรียนจุด O ว่า จุดกำเนิด (origin) ดังรูป 2

  รูป 2

   เรียกส่วนของเส้นตรง OX OY และ OZ ว่า แกน X ทางบวก (positive x-axis) แกน ทางบวก (positive y-axis) และ แกน Z ทางบวก (positive z-axis) และเรียกส่วนของเส้นตรง OX' OY'และ OZ' ว่า แกน ทางลบ (negative x-axis) แกน Y ทางลบ           (negative y-axis) และ แกน Zทางลบ (negative z-axis)
 โดยทั่วไปเมื่อเขียนรูปแกนพิกัดในสามมิติ นิยมเขียนเฉพาะ แกน X แกน Y และ แกน Z ที่เน้นเฉพาะทางด้านที่แทนจำนวนจริงบวกซึ่งมีหัวลูกศรกำกับ ดังรูป 3 หรือ รูป 4

     รูป 3                                                               รูป 4

  แกน X แกน Y และ แกน Z จะกำหนดระนาบขึ้น 3 ระนาบ เรียกว่า ระนาบอ้างอิง 
 •  เรียกระนาบที่กำหนดด้วย แกน X และแกน Y ว่า ระนาบอ้างอิง XY หรือ ระนาบ XY  
•  เรียกระนาบที่กำหนดด้วย แกน X และแกน Z ว่า ระนาบอ้างอิง XZ หรือ ระนาบ XZ 
 •  เรียกระนาบที่กำหนดด้วย แกน Y และแกน Z ว่า ระนาบอ้างอิง YZ หรือ ระนาบ YZ      (ดังรูป 5)

รูป 5

       ระนาบ XY ระนาบ YZ และระนาบ XZ ทั้งสามระนาบ จะแบ่งปริภูมิสามมิติ ออกเป็น 8 บริเวณ คือ เหนือระนาบ XY จำนวน บริเวณ และใต้ระนาบ XY จำนวน 4 บริเวณ เรียกแต่ละบริเวณว่า อัฒภาค (octant) ดังรูปที่ 6 อัฒภาคที่บรรจุ แกน X แกน Y และแกน Z ทางบวกจะเรียกว่า อัฒภาคที่ 1 ส่วนอัฒภาคอื่นๆ จะใช้ข้อตกลงเดียวกับในระบบพิกัดฉากสองมิติ                    (นับทวนเข็มนาฬิกา) โดยพิจารณาบริเวณเหนือระนาบ XY ก่อน

รูป 6

จำนวนจริง ( Real Number )

 จำนวนจริงชนิดต่าง ๆ
  1. จำนวนนับ เป็นจำนวนชนิดแรกที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อใช้นับจำนวนสัตว์เลี้ยง                             เซตของจำนวนนับเขียนได้ดังนี้  N = { 1 , 2 , 3 , 4 , … }
  1. จำนวนเต็ม  เมื่อสังคมของมนุษย์เจริญมากขึ้น จนวนนับก็ไม่เพียงพอแก่การนำไปใช้ จึงได้มรการคิดจำนวนชนิดใหม่ขึ้นโดยการนำจำนวนนับ 2 จำนวนมาลบกัน ผลลัพธ์ที่ได้เรียกว่า จำนวนเต็ม ซึ่งแบ่งเป็น 3 อย่างคือ
1)     จำนวนเต็มบวก เกิดจากการลบที่ตัวตั้งมีค่ามากกว่าตัวลบ
      เซตของจำนวนเต็มบวกแทนด้วย     
I+ = { 1 , 2 , 3 , … }
2)     จำนวนเต็มศูนย์ เกิดจากการลบที่ตัวตั้งเท่ากับตัวลบ
เซตของจำนวนเต็มศูนย์ 
= { 0 } มีสมาชิกตัวเดียว
3)     จำนวนเต็มลบเกิดจากการลบที่ตัวตั้งมีค่าน้อยกว่าตัวลบ
เซตของจำนวนเต็มลบแทนด้วย 
I- = { -1 , -2 , -3 , … }
Note .::. จำนวนเต็ม = I = { … , -3 , -2 , -1 , 0 , 1 , 2 , 3 , … }
3. จำนวนตรรกยะ  เกิดจากการนำจำนวนเต็ม 2 จำนวนมาหารกัน โดยที่ตัวหารไม่เท่ากับ 0 อาจกล่าวได้ว่าจำนวนตรรกยะคือ จำนวนที่เขียนในรูปเศษส่วนได้
เซตของจำนวนตรรกยะเขียนได้ดังนี้
Q =  |  เป็นจำนวนเต็ม และ }
Note .::.
    1) จำนวนตรรกยะมีทั้งที่เป็นบวก  เป็นศูนย์ และเป็นลบ                                                     2) จำนวนเต็มทุกจำนวนเป็นเป็นจำนวนตรรกยะด้วย  เพราะเขียนในรูปเศษส่วนได้  
    3) จำนวนที่เป็นทศนิยมรู้จบ กับจำนวนที่เป็นทศนิยมไม่รู้จบแบบซ้ำทุกจำนวน     เป็นจำนวนตรกกยะ เพราะแปลงเป็นเศษส่วนได้  
4.  จำนวนอตรรกยะ   คือ จำนวนที่เขียนในรูปเศษส่วนไม่ได้ ซึ่งได้แก่จำนวนที่ติดรากแต่ถอดรากไม่ได้ กับจำนวนที่เป็นทศนิยมไม่รู้จบแบบไม่ซ้ำ เช่น
5.  จำนวนจริง คือ เซตของจำนวนที่เกิดจากการนำเซตของจำนวนตรรกยะยูเนียนกับเซตของจำนวนอตรรกยะ เขียนแทนด้วยเซต

ตรรกศาสตร์ของข้อความบ่งปริมาณ



บทนิยาม 1.1   ประพจน์บ่งปริมาณ  คือ  ประโยตเปิดที่ตัวแปรมีเอกภพสัมพัทธ์  และมีตัวบ่งปริมาณกำกับอยู่ด้วย
1.1  ประพจน์บ่งปริมาณที่มีตัวแปรเพียงตัวเดียว
         ประพจน์บ่งปริมาณ  แบ่งได้เป็น  2  แบบ  ตามลักษณะของสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์ที่นำมาแทนตัวแปร

         
แบบที่1  กำหนดให้สมาชิกทั้งหมดในเอกภพสัมพัทธ์มาแทนตัวแปร  วลีแบบนี้ คือ " สำหรับทุก " หรือ " สำหรับแต่ละ " ( for  all  or  for  each )
        เรียกว่าเป็น  ตัวบ่งปริมาณ  " ทั้งหมด "  ( Universal  quantifier )  เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  "    "
        ถ้า   P(x)  เป็นข้อความฟังก์ชั่น  และ  U  เป็นเอกภพสัมพัทธ์ของ  x  สำหรับทุก  x  , P(x)
        เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์     หรือ    หรือ    หรือ  

        
แบบที่ 2  กำหนดให้สมาชิกบางตัว (หรืออย่างน้อยหนึ่งตัว)  มาแทนตัวแปร  วลีแบบนี้ คือ  " สำหรับบาง " หรือ  " สำหรับอย่างน้อยหนึ่ง "หรือ  " มีอย่างน้อยหนึ่ง "  ( for  some  or  there  exist )  เรียกว่าเป็นตัวบ่งปริมาณ  " มีอย่างน้อยหนึ่ง "  ( existential  quantifier )
        เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์   "    "
        ถ้า   P(x)  เป็นประโยคเปิด  และ  U  เป็นเอกภพสัมพัทธ์ของ  x  สำหรับบาง   x  , P(x)
        เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์     หรือ    หรือ    หรือ  
        นอกจากนี้  ยังมีตัวบ่งปริมาณ  " สำหรับบาง "  ที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีก คือ  วลี " มีและมีอย่างมากเหียงหนึ่ง "  หรือ " มีเพียงหนึ่ง " ( there  is  at  most  one  or  there  exists  a  unique )                                               เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  "  "
      เช่น   "  มีจำนวนเต็ม  x  เพียงจำนวนเดียวเท่านั้น  ซึ่ง  x + 3 = 5  เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์   

       1.1.1   ค่าความจริงของ   
บทนิยาม  1.2        มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทนที่  x  ด้วยสมาชิก  a  ทุกตัวของเอกภพสัมพัทธ์  แล้ว  P(a)  มีค่าความจริงเป็นจริง
บทนิยาม  1.3        มีค่าความจริงเป็นเท็จ  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทนที่  x  ด้วยสมาชิก  b บางตัวของเอกภพสัมพัทธ์  แล้ว  P(b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ

      
1.1.2   ค่าความจริงของ   
บทนิยาม  1.4        มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  มีสมาชิก  a  อย่างน้อยหนึ่งตัวของเอกภพสัมพัทธ์  ซึ่ง  P(a)  มีค่าความจริงเป็นจริง
บทนิยาม  1.5        มีค่าความจริงเป็นเท็จ  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทนที่  x  ด้วยสมาชิก  b ทุกตัวของเอกภพสัมพัทธ์  แล้ว  P(b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ
 
หมายเหตุ    1.  สำหรับประโยคเปิด  P(x)  ใด ๆ  ที่ตัวแปรมีเอกภพสัมพัทธ์ ไม่เป็นเซตว่าง  จะได้ว่า
                            เป็นจริงเสมอ
                    2.  ในกรณีที่ประพจน์บ่งปริมาณ  มีตัวเชื่อมทางตรรกศาสตร์แฝงอยู่
                        2.1)  โดยทั่วไป  จะใช้ตัวเชื่อม  " ถ้า........แล้ว "  ในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ  " ทั้งหมด "   
                        2.2)  จะใช้ตัวเชื่อม  " และ "  ในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ  "   "

          1.1.3   นิเสธของประพจน์บ่งปริมาณที่มีตัวแปรเพียงตัวเดียว

 ทฤษฎีบท  1.1      เป็นสัจนิรันดร์
 
ทฤษฎีบท  1.2      เป็นสัจนิรันดร์
 
ทฤษฎีบท  1.3      เป็นสัจนิรันดร์
 
ทฤษฎีบท  1.4      เป็นสัจนิรันดร์
 
ทฤษฎีบท  1.5   1)     
                            2)   
                            3)   
                            4)   
 
1.2  ประพจน์บ่งปริมาณที่มีสองตัวแปร

 
บทนิยาม  1.6  เมื่อให้  P(x,y)  เป็นประโยคเปิดที่มีตัวแปร  x  และ  y
                        1)      หมายถึง   
                              นั่นคือ     หมายความว่า   สำหรับทุก  x  สำหรับทุก  y  มีเงื่อนไข  P(x,y)
                       2)      หมายถึง   
                              นั่นคือ     หมายความว่า   สำหรับทุก  x  มีบาง  y   ที่มีเงื่อนไข  P(x,y)
                       3)      หมายถึง   
                              นั่นคือ     หมายความว่า   มีบาง  x  ที่สำหรับทุก  y   ที่มีเงื่อนไข  P(x,y)
                       4)      หมายถึง   
                              นั่นคือ     หมายความว่า   มีบาง  x  มีบาง  y   ที่มีเงื่อนไข  P(x,y)
 
หมายเหตุ   ถ้า  A  และ  B  เป็นเอกภพสัมพัทธ์ของ  x  และ  y  ตามลำดับ  เราอาจจะเขียน
                          เป็น   
                         เป็น   

 1.3  ค่าความจริงของประพจน์บ่งปริมาณที่มี  2  ตัวแปร
               จากบทนิยาม  1.6  จะได้ว่า     และ     มีค่าความจริงอันเดียวกัน
                     ถ้าให้   A  และ  B  เป็นเอกภพสัมพัทธ์ของ  x  และ  y  ตามลำดับ
                       มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทน  x  ด้วยสมาชิก  a  ทุกตัวของ  A         จะได้    มีค่าความจริงเป็นจริง
                    เนื่องจาก    มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทน  y  ด้วยสมาชิก  b  ทุกตัวของ B  จะได้    มีค่าความจริงเป็นจริง
         ดังนั้น    มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทน  x  และ  y  ด้วยสมาชิก  a  ทุกตัวของ  A  และ  b  ทุกตัวของ  B
                    จะได้    มีค่าความจริงเป็นจริง
                       มีค่าความจริงเป็นเท็จ    ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิก  a  บางตัวของ  A   ซึ่งทำให้     มีค่าความจริงเป็นเท็จ
                     เนื่องจาก    มีค่าความจริงเป็นเท็จ   ก็ต่อเมื่อ  มีสมาชิก  b  บางตัวของ B  จะได้    มีค่าความจริงเป็นเท็จ
         ดังนั้น    มีค่าความจริงเป็นเท็จ  ก็ต่อเมื่อ  มีสมาชิก  a  บางตัวของ  A  และ  b  บางตัวของ  B
                    ซึ่งทำให้    มีค่าความจริงเป็นเท็จ
                   ด้วยเหตุผลที่แสดงมาแล้วนี้  สามารถสรุปค่าความจริงของประพจน์บ่งปริมาณ  ที่มี  2  ตัวแปร  ดังนี้
ทฤษฎีบท  1.6  ให้  P(x,y)  เป็นประโยคเปิดที่มี  A  และ  B  เป็นเอกภพสัมพัทธ์ของตัวแปร  x  และ  y  ตามลำดับ

        1)    มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  แต่ละสมาชิก  a  ของ  A  และแต่ละสมาชิก  b  ของ  B  จะได้  P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นจริง
               มีค่าความจริงเป็นเท็จ  ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิก  a  ของ  A  อย่างน้อยหนึ่งตัว  และมีสมาชิก  b  ของ  B  อย่างน้อยหนึ่งตัว
             ซึ่งทำให้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ

        2)    มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  แต่ละสมาชิก  a  ของ  A  จะต้องมีสมาชิก  b  ของ  B  อย่างน้อยหนึ่งตัว
             ซึ่งทำให้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นจริง
               มีค่าความจริงเป็นเท็จ  ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิก  a  ของ  A  อย่างน้อยหนึ่งตัว  เมื่อพิจารณาร่วมกับแต่ละสมาชิก  b  ของ  B
             จะได้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ

        3)    มีค่าความจริงเป็นจริง   ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิก  a  ของ  A  อย่างน้อยหนึ่งตัว  เมื่อพิจารณาร่วมกับแต่ละสมาชิก  b  ของ  B
             จะได้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นจริง
                มีค่าความจริงเป็นเท็จ    ก็ต่อเมื่อ  แต่ละสมาชิก  a  ของ  A  จะต้องมีสมาชิก  b  ของ  B  อย่างน้อยหนึ่งตัว
             ซึ่งทำให้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ

         4)   มีค่าความจริงเป็นจริง   ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิก  a  ของ  A  อย่างน้อยหนึ่งตัว  และมีสมาชิก  b  ของ  B  อย่างน้อยหนึ่งตัว
             ซึ่งทำให้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นจริง
               มีค่าความจริงเป็นเท็จ   ก็ต่อเมื่อ  แต่ละสมาชิก  a  ของ  A   และแต่ละสมาชิก  b  ของ  B
             จะได้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ

 ทฤษฎีบท 1.7    ถ้าให้  P(x,y)  เป็นประโยคเปิดที่ตัวแปรมี เอกภพสัมพัทธ์  แล้วจะได้ว่า
             1)           เป็นสัจนิรันดร์
             2)           เป็นสัจนิรันดร์
             3)           เป็นสัจนิรันดร์
             4)           เป็นสัจนิรันดร์

ทฤษฎีบท 1.8    ถ้าให้  P(x,y)  เป็นประโยคเปิดที่ตัวแปรมี เอกภพสัมพัทธ์  แล้วจะได้ว่า 
             1)              เป็นสัจนิรันดร์
             2)              เป็นสัจนิรันดร์
             3)                     เป็นสัจนิรันดร์
             4)                     เป็นสัจนิรันดร์