วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ตรรกศาสตร์ของข้อความบ่งปริมาณ



บทนิยาม 1.1   ประพจน์บ่งปริมาณ  คือ  ประโยตเปิดที่ตัวแปรมีเอกภพสัมพัทธ์  และมีตัวบ่งปริมาณกำกับอยู่ด้วย
1.1  ประพจน์บ่งปริมาณที่มีตัวแปรเพียงตัวเดียว
         ประพจน์บ่งปริมาณ  แบ่งได้เป็น  2  แบบ  ตามลักษณะของสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์ที่นำมาแทนตัวแปร

         
แบบที่1  กำหนดให้สมาชิกทั้งหมดในเอกภพสัมพัทธ์มาแทนตัวแปร  วลีแบบนี้ คือ " สำหรับทุก " หรือ " สำหรับแต่ละ " ( for  all  or  for  each )
        เรียกว่าเป็น  ตัวบ่งปริมาณ  " ทั้งหมด "  ( Universal  quantifier )  เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  "    "
        ถ้า   P(x)  เป็นข้อความฟังก์ชั่น  และ  U  เป็นเอกภพสัมพัทธ์ของ  x  สำหรับทุก  x  , P(x)
        เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์     หรือ    หรือ    หรือ  

        
แบบที่ 2  กำหนดให้สมาชิกบางตัว (หรืออย่างน้อยหนึ่งตัว)  มาแทนตัวแปร  วลีแบบนี้ คือ  " สำหรับบาง " หรือ  " สำหรับอย่างน้อยหนึ่ง "หรือ  " มีอย่างน้อยหนึ่ง "  ( for  some  or  there  exist )  เรียกว่าเป็นตัวบ่งปริมาณ  " มีอย่างน้อยหนึ่ง "  ( existential  quantifier )
        เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์   "    "
        ถ้า   P(x)  เป็นประโยคเปิด  และ  U  เป็นเอกภพสัมพัทธ์ของ  x  สำหรับบาง   x  , P(x)
        เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์     หรือ    หรือ    หรือ  
        นอกจากนี้  ยังมีตัวบ่งปริมาณ  " สำหรับบาง "  ที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีก คือ  วลี " มีและมีอย่างมากเหียงหนึ่ง "  หรือ " มีเพียงหนึ่ง " ( there  is  at  most  one  or  there  exists  a  unique )                                               เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  "  "
      เช่น   "  มีจำนวนเต็ม  x  เพียงจำนวนเดียวเท่านั้น  ซึ่ง  x + 3 = 5  เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์   

       1.1.1   ค่าความจริงของ   
บทนิยาม  1.2        มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทนที่  x  ด้วยสมาชิก  a  ทุกตัวของเอกภพสัมพัทธ์  แล้ว  P(a)  มีค่าความจริงเป็นจริง
บทนิยาม  1.3        มีค่าความจริงเป็นเท็จ  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทนที่  x  ด้วยสมาชิก  b บางตัวของเอกภพสัมพัทธ์  แล้ว  P(b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ

      
1.1.2   ค่าความจริงของ   
บทนิยาม  1.4        มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  มีสมาชิก  a  อย่างน้อยหนึ่งตัวของเอกภพสัมพัทธ์  ซึ่ง  P(a)  มีค่าความจริงเป็นจริง
บทนิยาม  1.5        มีค่าความจริงเป็นเท็จ  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทนที่  x  ด้วยสมาชิก  b ทุกตัวของเอกภพสัมพัทธ์  แล้ว  P(b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ
 
หมายเหตุ    1.  สำหรับประโยคเปิด  P(x)  ใด ๆ  ที่ตัวแปรมีเอกภพสัมพัทธ์ ไม่เป็นเซตว่าง  จะได้ว่า
                            เป็นจริงเสมอ
                    2.  ในกรณีที่ประพจน์บ่งปริมาณ  มีตัวเชื่อมทางตรรกศาสตร์แฝงอยู่
                        2.1)  โดยทั่วไป  จะใช้ตัวเชื่อม  " ถ้า........แล้ว "  ในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ  " ทั้งหมด "   
                        2.2)  จะใช้ตัวเชื่อม  " และ "  ในประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ  "   "

          1.1.3   นิเสธของประพจน์บ่งปริมาณที่มีตัวแปรเพียงตัวเดียว

 ทฤษฎีบท  1.1      เป็นสัจนิรันดร์
 
ทฤษฎีบท  1.2      เป็นสัจนิรันดร์
 
ทฤษฎีบท  1.3      เป็นสัจนิรันดร์
 
ทฤษฎีบท  1.4      เป็นสัจนิรันดร์
 
ทฤษฎีบท  1.5   1)     
                            2)   
                            3)   
                            4)   
 
1.2  ประพจน์บ่งปริมาณที่มีสองตัวแปร

 
บทนิยาม  1.6  เมื่อให้  P(x,y)  เป็นประโยคเปิดที่มีตัวแปร  x  และ  y
                        1)      หมายถึง   
                              นั่นคือ     หมายความว่า   สำหรับทุก  x  สำหรับทุก  y  มีเงื่อนไข  P(x,y)
                       2)      หมายถึง   
                              นั่นคือ     หมายความว่า   สำหรับทุก  x  มีบาง  y   ที่มีเงื่อนไข  P(x,y)
                       3)      หมายถึง   
                              นั่นคือ     หมายความว่า   มีบาง  x  ที่สำหรับทุก  y   ที่มีเงื่อนไข  P(x,y)
                       4)      หมายถึง   
                              นั่นคือ     หมายความว่า   มีบาง  x  มีบาง  y   ที่มีเงื่อนไข  P(x,y)
 
หมายเหตุ   ถ้า  A  และ  B  เป็นเอกภพสัมพัทธ์ของ  x  และ  y  ตามลำดับ  เราอาจจะเขียน
                          เป็น   
                         เป็น   

 1.3  ค่าความจริงของประพจน์บ่งปริมาณที่มี  2  ตัวแปร
               จากบทนิยาม  1.6  จะได้ว่า     และ     มีค่าความจริงอันเดียวกัน
                     ถ้าให้   A  และ  B  เป็นเอกภพสัมพัทธ์ของ  x  และ  y  ตามลำดับ
                       มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทน  x  ด้วยสมาชิก  a  ทุกตัวของ  A         จะได้    มีค่าความจริงเป็นจริง
                    เนื่องจาก    มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทน  y  ด้วยสมาชิก  b  ทุกตัวของ B  จะได้    มีค่าความจริงเป็นจริง
         ดังนั้น    มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  ในการแทน  x  และ  y  ด้วยสมาชิก  a  ทุกตัวของ  A  และ  b  ทุกตัวของ  B
                    จะได้    มีค่าความจริงเป็นจริง
                       มีค่าความจริงเป็นเท็จ    ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิก  a  บางตัวของ  A   ซึ่งทำให้     มีค่าความจริงเป็นเท็จ
                     เนื่องจาก    มีค่าความจริงเป็นเท็จ   ก็ต่อเมื่อ  มีสมาชิก  b  บางตัวของ B  จะได้    มีค่าความจริงเป็นเท็จ
         ดังนั้น    มีค่าความจริงเป็นเท็จ  ก็ต่อเมื่อ  มีสมาชิก  a  บางตัวของ  A  และ  b  บางตัวของ  B
                    ซึ่งทำให้    มีค่าความจริงเป็นเท็จ
                   ด้วยเหตุผลที่แสดงมาแล้วนี้  สามารถสรุปค่าความจริงของประพจน์บ่งปริมาณ  ที่มี  2  ตัวแปร  ดังนี้
ทฤษฎีบท  1.6  ให้  P(x,y)  เป็นประโยคเปิดที่มี  A  และ  B  เป็นเอกภพสัมพัทธ์ของตัวแปร  x  และ  y  ตามลำดับ

        1)    มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  แต่ละสมาชิก  a  ของ  A  และแต่ละสมาชิก  b  ของ  B  จะได้  P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นจริง
               มีค่าความจริงเป็นเท็จ  ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิก  a  ของ  A  อย่างน้อยหนึ่งตัว  และมีสมาชิก  b  ของ  B  อย่างน้อยหนึ่งตัว
             ซึ่งทำให้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ

        2)    มีค่าความจริงเป็นจริง  ก็ต่อเมื่อ  แต่ละสมาชิก  a  ของ  A  จะต้องมีสมาชิก  b  ของ  B  อย่างน้อยหนึ่งตัว
             ซึ่งทำให้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นจริง
               มีค่าความจริงเป็นเท็จ  ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิก  a  ของ  A  อย่างน้อยหนึ่งตัว  เมื่อพิจารณาร่วมกับแต่ละสมาชิก  b  ของ  B
             จะได้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ

        3)    มีค่าความจริงเป็นจริง   ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิก  a  ของ  A  อย่างน้อยหนึ่งตัว  เมื่อพิจารณาร่วมกับแต่ละสมาชิก  b  ของ  B
             จะได้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นจริง
                มีค่าความจริงเป็นเท็จ    ก็ต่อเมื่อ  แต่ละสมาชิก  a  ของ  A  จะต้องมีสมาชิก  b  ของ  B  อย่างน้อยหนึ่งตัว
             ซึ่งทำให้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ

         4)   มีค่าความจริงเป็นจริง   ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิก  a  ของ  A  อย่างน้อยหนึ่งตัว  และมีสมาชิก  b  ของ  B  อย่างน้อยหนึ่งตัว
             ซึ่งทำให้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นจริง
               มีค่าความจริงเป็นเท็จ   ก็ต่อเมื่อ  แต่ละสมาชิก  a  ของ  A   และแต่ละสมาชิก  b  ของ  B
             จะได้    P(a,b)  มีค่าความจริงเป็นเท็จ

 ทฤษฎีบท 1.7    ถ้าให้  P(x,y)  เป็นประโยคเปิดที่ตัวแปรมี เอกภพสัมพัทธ์  แล้วจะได้ว่า
             1)           เป็นสัจนิรันดร์
             2)           เป็นสัจนิรันดร์
             3)           เป็นสัจนิรันดร์
             4)           เป็นสัจนิรันดร์

ทฤษฎีบท 1.8    ถ้าให้  P(x,y)  เป็นประโยคเปิดที่ตัวแปรมี เอกภพสัมพัทธ์  แล้วจะได้ว่า 
             1)              เป็นสัจนิรันดร์
             2)              เป็นสัจนิรันดร์
             3)                     เป็นสัจนิรันดร์
             4)                     เป็นสัจนิรันดร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น