วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

สมบัติของจำนวนนับ

สมบัติของจํานวนนับ
     1. ตัวประกอบ  คือ จํานวนนับซึ่งหารจํานวนนับใดๆ ได้ลงตัว
     2. จํานวนเฉพาะ  คือ  จํานวนนับที่มากกว่า  1  ซึ่งมีเฉพาะ  1  และจํานวนนั้นหารลงตัว
     3. ตัวประกอบเฉพาะ  คือ  ตัวประกอบซึ่งเป็นจํานวนเฉพาะ
     4. ตัวประกอบร่วม  คือ  จํานวนนับซึ่งสามารถหารจํานวนนับใดๆ ตั้งแต่  2  จํานวน
         ขึ้นไปได้ลงตัว
     5. ตัวหารร่วมมาก  (ห.ร.ม.)  คือ  ตัวประกอบร่วม  ซึ่งมีค่ามากที่สุดของจํานวนนับตั้งแต่   
         2  จํานวน  เช่น  ห.ร.ม.  ของ  20  และ  30  คือ  10 
      6.พหุคูณ  คือ  จํานวนนับซึ่งมีค่าเป็นจํานวนเท่าของจํานวนนับใดๆ  
         เช่น  100 เป็นพหุคูณของ 5  
     7.พหุคูณร่วม  คือ  พหุคูณของจํานวนนับใดๆ  ตั้งแต่  2  จํานวนขึ้นไป   
        เช่น  100  เป็นพหุคูณร่วมของ  5  และ  10   
    8. ตัวคูณร่วมน้อย  (ค.ร.น.)  คือ  พหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจํานวนนับใดๆ   
        ตั้งแต่  2  จํานวนขึ้นไป  เช่น  ค.ร.น.  ของ  15 , 30  และ  60  คือ  60 
    9. ถ้าจํานวนที่ต้องการหา  ห.ร.ม.  และ  ค.ร.น.  ไม่มีตัวประกอบร่วม  ห.ร.ม.  =  1 
        ค.ร.น.  =  ผลคูณของจํานวนเหล่านั้นทั้งหมด
   10. ในกรณีจํานวนนับสองจํานวน
        ผลคูณของจํานวน  =  ห.ร.ม. × ค.ร.น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น